Powered By Blogger

วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2554

             หากพูดถึงสมุนไพร คนทั่วไปรู้จักดี เนื่องจากในแต่ละท้องถิ่น ของแต่ละประเทศมรการใช้สมุนไพรมาตั้งแต่โบราณ โดยภูมิปัญญาเหล่านั้น บรรพบุรุษของแต่ละเผ่าพันธุ์ได้ลองผิดลองถูกและจดบันทึกไว้ จนลูกหลานยุคปัจจุบันสามารถนำมาใช้ได้อย่างมั่นใจในสรรพคุณ เช่นเดียวกับคนไทยที่มีตำหรับยากลางบ้านที่มีส่วนผสมของสมุนไรมากมายหลายชนิดซึ่งบางตำหรับก็ไม่ใช่สมุนพรไทยเสียหมด ยังมีสมุนไพรจีนผสมหรือแทรกเข้ามาด้วย ตำราจีนก้เช่นกัน อาจมีสมุนไพรไทยเข้าไปเป็นกระสายยาอยู่บ้าง ทั้งนี้เป็นเพราะสมุนไพรทั้งไทยและจีนหลายชนิด มีถิ่นกำเนิดหรือแพร่พันธ์ุุ์อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน




[ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต]


หากจะพูดถึงสมุนไพรจีน ต้องยอมรับว่าเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราแบบไม่รู้ตัว เพราะสมุนไพรจีนบางชนิดเป็นส่วนประกอบสำคัญของอาหารที่เรากิน เช่น ขาหมูพะโล้ เพราะพะโล้จะมีสมุนไพรจีนอยู่ถึง 5ชนิด ด้วยกัน คือ "โป๊ยกั๊ก" (จันทร์แปดกลีบ) "วุ่ยฮึง"(เมล็ดเทียนข้าวเปลือก) "เต็งฮยง" (กานพลู) "กุยพ้วย" (อบเชย) และ "ซวงเจีย"(พริกหอม) นอกจากอาหารคาวแล้ว อาหารหวานหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมเป็นสมุนไพรจีนก็มีอยู่ไม่น้อย เช่น น้ำจับเลี้ยง น้ำเก็กฮวย เป็นต้น

ในตำราแพทย์แผนจีนโบราณซึ่งมีกำเนิดมากกว่า 5,000 ปี ได้จดบันทึกรวบรวมแนวทางหลักในการรักษาผู้เจ็บป่วยไว้ 2 ประการ คือ
1.การรักษาแบบองค์รวม เป็นการรักษาที่ครอบคลุม เช่น หากมีการอ่อนเพลีย หน้าตาซีดเซียว ปากซีด หมอจีนสมัยก่อนจะให้กินสมุนไพรที่มีสรรพคุณบำรุงเลือด หัวใจ และม้ามไป พร้อมๆกัน

2. การรักษาที่ดูจากสภาพแวดล้อมภายนอก ที่มากระทบลักษณะพื้นฐานของสุขภาพเดิมของแต่ละคน ซึ่งโดยปกติแล้วแพทย์จีนจะแบ่งพื้นฐานสุขภาพของคนออกเป็น  4 แบบ คือ
-พวกหยางแข็งแรง คนกลุ่มนี้จะเป็นคนขี้ร้อน คล่องแคล่ว ตื่นเต้นได้ง่าย ชีพจรเต้นเร็ว ลิ้นมีสีแดง
-พวกหยินแข็งแรง คนกลุ่มนี้จะเป็นคนขี้หนาว มีนิสัยเรียบๆ ดูสงบนิ่ง อาจจะมีอาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง
-พวกหยางอ่อนแอ คนกลุ่มนี้จะมีลักษณะนิสัยเป็นคนเก็บกดหน้าตาซีดเซียวเหมือนไม่ค่อยมีเลือด
-พวกหยินอ่อนแอ คกลุ่มนี้จะมีรูปร่างผอมบาง อารมณืไม่ค่อยคงที่หงุดหงิดโมโหง่าย

แพทย์จีนได้หล่าวไว้ว่า การที่ร่างกายเกิดอาการเจ็บป่วยเป็นเพราะการเสียสมดุล เนื่องจากเชื้อโรคหรือสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงจนทำให้ร่างกายมีหยินหรือหยางมากเกินไปเมื่อร่างกายเสียสมดุลจะส่งผลให้อารมณ์เสียสมดุลตามไปด้วย ดังนั้น การรักษาของแพทย์จีนจึงเน้นไปที่การปรับสมดุลเพราะสมดุลเปรียบเหมือนกุญแจสำคัญของการมีสุขภาพดี การปรับสมดุลของแพทย์แผนจีนมีหลายวิธี แต่วิธีที่เราคุ้นเคยและรู้จักกันดี เช่น

-การนวดกดจุด วิธีนี้จะคล้ายวิธีการฝังเข็ม แต่ใช้วิธีนวดลงบนจุด ต่างๆซึ่งจะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้ดี บรรเทาอาการปวดหัว กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและระบบน้ำเหลือง

-การใช้สมุนไพร ชาวจีนโบราณได้ชื่อว่าเป็นสุดยอดแห่งการใช้สมุนไพรบำบัดโรค การใช้สมุนไพรของชาวจีนมีทั้งแบบที่ใช้เดี่ยวๆเช่น การชงเป็นชา หรือใช้สมุนไพรหลายๆตัวเข้าเป็นตำรับยาหรือใช้ประกอบลงในอาหารหรือดองเหล้า การใช้สมุนไพรหลายๆตัวประกอบกันก็เพื่อปรับฤทธิ์และสรรพคุณของสมุนไพรให้สมดุล เพื่อให้ได้สรรพคุณตามต้องการ การใช้สมุนไพรเพื่อปรับสมดุลของร่างกาย นอกจากจะช่วยฟื้นฟูระบบไหลเวียนของเลือดแล้ว ยังช่วยปรับสภาวะร้อนหรือเย็นเกินไปของร่างกายอีกด้วย จึงอาจพูดได้ว่า สมุนไพรจีนให้สรรพคุณทั้งการบำบัดและบำรุงในขณะเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น