Powered By Blogger

วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554

ถั่งเฉ้า

              ถั่งเฉ้า  หรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่า " ตังถั่งเฉ้า"  หรือ " ตังถั่งแห่เฉ้า" เป็นสมุนไพรจีนที่ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดรวมกัน คือ เห็ดที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า cordyceps sinensis  กับหนอนผีเสื้อที่มีชื่อ  hepialus  armoricanus oberthiir  สปอร์ของเห็ดดังกล่าวจะขึ้นอยู่บนตัวของดักแด้หรือตัวอ่อนของหนอนผีเสื้อ ชนิดที่ฝังตัวจำศีลอยู่ใต้ดินในฤดูหนาว เมื่อหนอนตายในฤดูใบไม้ผลิ  เห็ดก็จะเจริญขึ้น โดยดูดเอาสารอาหารจากตัวหนอนที่มีเห็ดขึ้นอยู่บนตัว ใน ถั่งเฉ้าประกอบด้วย วิตามินบี 12 กรดไขมันทั้งอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว กรดถั่งเฉ้า (cordycepic acid) และยังมีสารถั่งเฉ้า (cordycepin) อีกด้วย


[รูปประกอบจากอินเตอร์เน็ต]

     สรรพคุณ

    - มีสรรพคุณคล้ายโสม คือ มีฤทธิ์อุ่น รสหวาน และมีกลิ่นหอม จึงช่วยบำรุงร่างกายสำหรัผู้ทีมีร่างกายสำหรับผู้ที่มีร่างกายไม่ค่อยแข็งแรงหรือิยู่ในช่วงฟื้นไข้ ทั้งยังช่วยบำบัดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้่า

   -  แก้ไอ หอบหืด ช่วยละลายเสมหะ
   -  ช่วยระงับประสาท ทำให้นอนหลับสนิท
   -  ช่วยปรับการทำงานของกระเพาะอาหารเป็นปกติ
   - รักษาอาการปวดเอว (ต้องกินติดต่อกันเป็นเวลานาน) 
  -  บำรุงปอด บำรุงไต
  -  ป้องกันไม่ให้เม็ดเลือดขาวลดจำนวนลง ในกรณีที่รักษาโรคด้วยเคมีและรังสี
  -  ป้องกันอาการน้ำอสุจิเคลื่อนบ่อย
  -  เป็นสมุนไพรที่ดีในการปรับการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ

 วิธีใช้
- ให้ใช้ทั้งตัวหนอนและเห็ด โดยตุ๋นถั่งเฉ้า 6 ตัวกับเป็ดแก่ 1 ตัว (สับเป็นชิ้น) กินเป็นซุป จะช่วยบำรุงไต  รักษาอาการปวดหลังบริเวณบั้นเอว และบำบัดอาการกามตายด้านหรือฝันเปียก
-ใช้ถั่งเฉ้า 9 กรัม ห่วยซัว 30 กรัม ตุ๋นรวมกับไก่ดำ 2 ขีดครึ่งเติมน้ำพอประมาณ ตุ๋นจนเนื้อไก่เปื่อยนุ่ม แล้วกินเป็นทั้งน้ำซุป และเนื้อไก่ จะช่วยบำรุงกำลัง แก้อาการท้องผูก ปากแห้ง เหงื่อออกง่าย หอบ ปัสสาวะเหลืองๆ 
-ต้มถั่งเฉ้า 10 กรัมในน้ำจนสุกได้ที่ เติมน้ำตาลกรวดลงไปต้มให้ละลาย นำน้ำที่ต้มได้มาดื่มวันละ 1  หม้อ นาน  1 เดือน จะช่วยรักษาอาการไอเนื่องจากโรคปอด

ข้อควรระวัง

- ผู้ที่เป็นหวัดหรือเป็นไข้หวัด ไม่ควรกิน
- ผู้ที่มีอาการคอแห้งหรือร้อนใน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนให้
- ถั่งเฉ้าจริงมักมีราคาแพง จึงมีการทำปลอมออกมาขาย ของจริงนั้นตัวหนอนจะต้องอวบอ้วนมีสีเหลืองเป็นมันเงา เมื่อตัดกลางจะเห็นเป็นสีเหลืองนวลและก้านเห็นต้องสั้น
      

 

วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

เทียนข้าวเปลือก

เทียนข้าวเปลือก ภาษาจีนเรียกว่า "วุ่ยฉึง" เป็นพืชตระกูลเดียวกับผักชีแต่มีขนาดใหญ่กว่า เมล็ดมีลักษณะคล้ายข้าวเปลือก จึงเรียกว่า " เทียนข้าวเปลือก'เรสนิยมนำส่วนของเมล็ดแห้งมาประกอบอาหารและเป็นยา


    สรรพคุณ


  - เทียนข้าวเปลือกมีฤทธิ์อุ่น มีน้ำมันหอมระเหยสูง และถูกจัดให้เป็นองค์ประกอบของยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ  28 ขนาน เป็นขนานที่ใช้บำรุงเลือด แก้ลมและท้องอืด โดยต้องใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ
  
  - ช่วยลดกลิ่นปากช่วยย่อย รักษาโรคแผลในปากช่วยประตุ้นประสาทให้ตื่นตัว
  - บำรุงไต แก้ปวดหลััง ปวดข้อ ปวดท้อง รักษากระเพาะ รักษาโรคเหน็บชา และกระคุ้นการไหลเวียนของเลือด
  
                               
                                [ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต]


วิธีใช้


        เทียนข้าวเปลือกเข้ากันได้ดีกับอาหารประเภทเนื้อ โดยเฉพาะเนื้อปลาอาหารที่มีส่วนผสมของเทียนข้าวเปลือกและขิงปรุงร่วมกัน จะมีคุณสรรพคุณลดอาการปวดท้อง
  
    -  นำเมล็ดเทียนข้าวเปลือกมาคั่วกับไตหมู กินบ่อยๆจะช่วยบำรุงร่างกายในผู้ที่ทำงานหนัก และมีอาการปวดหลัง อ่อนเพลียหรือไม่มีแรง
    -  เมล็ดเทียนข้าวเปลือก 20 กรัมชงกับน้ำดื่มทุกๆ 15-30 นาที ควบคู่กับการนอนชันเข่า ช่วยรักษาอาการไส้เลื่อน
   - นำเมล็ดเทียนข้าวเปลือกและเมล็ดลิ้นจี่อย่างละเท่าๆกันมาคั่วแล้วบดเป็นผง นำผงยาที่ได้ปริมาณ 10 กรัมมาผสมกับเหล้าดื่ม เพื่อรักษาอาการปวดจากไส้เลื่อน


  ข้อควรระวัง
เทียนข้าวเปลือกเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์อุ่น จึงไม่เหมาะกับผู้ที่อาการท้องเสียเป็นประจำ

ตังกุย

     สมุนไพรบำรุงสำหรับผู้หญิงชนิดนี้ทั้งภาษจีนและภาษแต้จิ๋วและแมดาริน เรียกชื่อเดียวกันว่า "ตังกุย" คนไทยเรียก "โกฏเชียง" เป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นนหอมฉุนรสหวานอ่อนๆ สามารถนำส่วนใบและลำต้นมาผัดหรือต้มจืดได้ แต่ได้รับความนิยมน้อยกว่าส่วนหัวหรือเหง้า ซึ่งมีขณะประมาณหัวแม่โป้ง เมื่อแห้งแล้วจะมีลักษณะคล้ายรูปร่างผู้หญิง ตังกุยจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า " Female giseng"






                                        [ภาำพประกอบจากอินเตอร์เน็ต]


สรรพคุณ


   -  ตังกุยมีฤทธิ์อุ่น รสหวานอมขมและเผ็ด ประกอบด้วยสารแอลคาลอย์ น้ำมันหอมระเหย วิตามินเอ วิตามินบี และเกลือแร่จึงช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงสมอมง ตับ ต่อมน้ำเหลือง กระตุ้นการทำงานของหัวใจ และการไหลเวียนเลือด
  
   -  รากส่วนบนของตังกุย เรียกว่า "ตังกุยเท้า" นิยมนำมาเป็นยาบำรุงรางกาย รากส่วนล่าง เรียกว่า "ตังกุยบ๊วย" .ใช้รักษาอาการปวดประจำเดือน ขับประจำเดือน ตกเลือด แก้หวัด บำรุงมดลูก และป้องกันการเกิดลิ่มเลือด
  
   -  มีงานวิจัยที่พบว่าตังกุยช่วยยับยั้งการเกิดเ้ซลมะเร็ง ต้านการอักเสบ แะลรักษษโรคหอบหืด


  วิธีใช้


 ตังกุยเป็นเครื่องยาจีนที่เหมาะจะนำมาตุ๋นร่วมกับเนื้อสัตว์ไม่ติดมันหรือเครื่องใน เช่น ตับแพะ ไก่ดำ นอกจากนี้ ตังกุยยังเข้ากันได้ดีกับ งา อึ่งคี้ และเส็กตี่ 


 - ใช้ตังกุย 30 กรัม อึ่งคี้  9 กรัม ต้มน้ำดื่มเพื่อรักษาอาการซีดเนื่องจากขาดเลือด โรคโลหิตจางและการเสียดสีจากการมีประจำเดือน 
 - ตุ๋นตังกุยกับไก่ดำ กินเป็นซุป ช่วยบำรุงสุขภาพ
 - ใช้ตังกุย  5-10 กรัมต้มน้ำดื่ม ช่วยบำรุงสุขภาพ


ข้อควรระวัง
- สำหรับผู้ที่ขับถ่ายไม่ดี ท้องเสียบ่อย ร้อนใน หรือเคยอาเจียน เป็นเลือด ไม่ควรกิน
- สตรีมีครรถ์หรือให้นมบุตรไม่ควรกินง
-สำหรับผู้ที่กินยาลดความดัน ยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรืออื่นๆควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้

วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2554

ซัวจา


:
ซัวจา 

ซัวจา หรือ " ซัวแจ" ผลมีสีแดงเนื้อกรอบนุ่ม ส่วนที่นำมาใช้ประกอบอาหารทั้งคาวหวานหรือเป็นยา คือ
 ส่วนผสมซึ่งมีลักษณะคล้ายแอปเปิ้ลแคระ ในผลซัวจาประกอบด้วยวิตามินซี ฟอสฟอรัส เหล็ก แคลเซียม
วิตามินบี 2 แลโทน(lactone) และฟลาโวนนอยด์(flavonoids)
ในบ้านเรามักนำผลซัวจามาตากแห้งแล้วอัดเป็นแผ่นผสมน้ำตาล ทำเป็นขนมชิ้นเล็กกลมๆ เล็กๆ สีออกแดง
รสอมเปรี้ยวอมหวาน

สรรพคุณ 

- ซัวจามีฤทธิ์อุ่น รสเปรี้ยวอมหวานรสเปรี้ยวของซัวจาช่วยให้เจริยอาหารและกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะ
 หากกินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์แล้วกินซัวจาตามจะช่วยย่อยอาหารได้ดีมาก

- ช่วยขยาดหลอดเลือด ลดความดันและไขมันในเลือด

- แก้อาการเมาและช่วยละลายเสมหะในผู้ที่ดื่มเหล้า

- รักษาอาการโรคหัวใจ โดยไปทำลายเอมไซม์เอซีอี (angiotensin coverting enzyme) ที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว เลือดจึงไหลเวียนดีขึ้น

- รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน

- ใช้บรรเทาอาการปวดท้องหลังคลอดบุตร หรือกรณีที่มีน้ำคาวปลาตกค้าง

- สารโอพีซี (Oligomeric proanthocyanidin complex) ซึ่งเป็นสารโวนอยด์ในซัวจามีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก

- ซัวจามีฤทธิ์กล่อมประสาท จึงช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น

วิธีใช้

- ผลสดกินบรรเทาอาการแน่นท้อง ท้องอืด หากนำผลสดไปต้มน้ำแล้วดื่มหลังอาหาร จช่วยลดคอเลสเตรอล
- ต้มซัวจาแห้งผสมกับเปลือกส้มเขียวหวานตากแห้ง ประมาณครึ่งชั่วโมง ยกลง เติมน้ำผึ้งให้ออกรสหวานเล็กน้อย ดื่มเป็นเครื่องดื่มช่วยย่อย
- ต้มซัวจาแห้ง 15 กรัมกับใบยี่หร่าสด 5 กรัม ดื่มบำบัดอาการไส้เลื่อน

ข้อควรระวัง

- ผู้ที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ไม่ควรกิน

ขิง

             ขิง ภาษจีนเรียกว่า "จี๋เกี๋ย" ซึ่งหมายถึงขิงอ่อน ส่วนขิงแก่ เรียกว่า "บอเกีย"เป็นเครื่อเทศเก่าแก่ที่ชาวจีนใช้มานานกว่า 2,000 ปี เราใช้ส่วนเหง้าของขิงมาปรุงอาหารและเป็นกระสายยา แก้โรคอาการต่างๆ ส่วนขิงอ่อนมักนำมาประกอบอาหารทั้งในครัวไทย จีน ญี่ปุ่น เกาหลี รวมทั้งประเทศอื่นๆ ในเอเชียด้วย ขิงแก่มีรสเผ็ดกว่าขิงอ่อน และมีตัวยาสำคัญหลากหลายชนิด เหมาะสำหรับเป็นกระสายยา แก้โรคและอาการต่างๆ
                                                      [ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต]

สรรพคุณ 
- ขิงมีฤทธิ์อุ่น รสเผ็ด กลิ่นหอมสาวซิงเจอรอน(zingeron) และจิงเจอรอล(gingerol) ซึ่งมีมากในขิงแก่ มีสรรพคุณช่วยย่อยอาหารขับเหงื่อ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ลดเสหมะ แก้ไอรักษาอาการหวัด แก้อาการเมารถเมาเรือแก้อาเจียน ท้องเสีย แก้ปวด รักษาโรคกระเพาะ ช่วยการไหลเวียนของเลือด

- ใบ มีสรรพคุณขับลม รักษ่นิ่ว รักษาอาการฟกช้ำ
- ดอก ใช้ขับพยาธิ บำรุงธาตุไฟ
- ผล กินแก้ไข้
- ขิงสดและขิงแห้งจะให้สรรพคุณแตกต่างกัน ขิงสดจะฤทธิ์อุ่นและเผ็ด จึงดีต่อการทำงานของม้าม ปอด กระเพาะ ช่วยแก้หอบหืด ส่วนขิงแห้งมีฤทธิ์เผ็ดร้อน ช่วยแก้อาการปวดจากความเย็น แก้ท้องเสีย แก้อาการมือเท้าเย็นและรักษาโรคนรูมาติก

วิธีใช้

คนจีนนิยมนำขิงสดมาเป็นเครื่องเทศในการปรุงอาหารที่มีเนื้อสัตว์ร่วมด้วยเสมอ เพื่อลดหลิ่นคาว ส่วนขิงแห้งนิยมนำมาชงดื่มแก้ท้องเสีย การเลือกขิงสดมาใช้ ควรเป็นขิงสดอ่อนที่ผิวไม่เหี่ยว อวบและฉ่ำน้ำ

- ต้มขิงแห้งรวมกับขิงสดกินแก้หวัดและไข้ หรือต้มขิงสดกับเปลือกส้มแห้ง ดื่มขณะอุ่นๆช่วยลดอาการไข้

-ตุ๋นขิงสดกับกระเพาะหมูกินเป็นกับข้าว ช่วยรักษาอาการแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้

-ต้มขิงสดผสมกับพุทราจีนแห้งและก้านต้นหอม ดื่มแก้หวัด

- ดื่มน้ำขิงอุ่น 1 แก้วก่อนเดินทาง จะช่วยลดอาการเมารถเมาเรือได้ดี

เกาลัด

 เกาลัด 


                                                            [ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต]
    
         เกาลัด ภาษาจีนเรียกว่า "เลียกก้วย" " ไต่เลียก" หรือ "ปั้งเลียก" เ ป็นพืชจำนวนพวกนัตหรือพืชเปลือกแข็ง เช่น เดียกับอัลมอนต์ และ มะม่วงหิมพานต์ ผลเกาลัดมีลักษณะค่อนข้างกลม สีเขียว มีขนแหลม เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาลและแตกออก ภายในมีเมล็ด และใช้ส่วนเนื้อในเมล็ดเป็นอาหารในประเทศจีนนิยมกินเกาลัดทั้งดิบและสุก ชาวจีนถือว่าเกาลัดเป็น "ราชาแห่งเมล็ดพันธุ์พืช" จึงมีการปลูกอย่างแพร่หลายในจีนและผลิต สำหรับส่งออกเมื่อนำเกาลัดไปคั่วในทรายร้อนๆ จะมีรสหวานอร่อย


สรรพคุณ- เกาลัดมีฤทธิ์อุ่น รสหวาน มีสรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงไต กล้ามเนื้อ ม้ามและกระเพาะอาหาร บำรุงลมแก้ร่างกายอ่อนแอ

- แก้ไอ ละลายเสมหะ แก้อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเดิน

- ห้ามเลือด ช่วยการไหลเวียนเลือด 

- แก้อาการถ่ายเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล

- แก้วัณโรคที่ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต และอาเจียนเป็นเลือด 




 


วิธีใช้
- ต้มเกาลัด 500 กรัมกับน้ำตาลทราย 180 กรัมจนเปื่อยนิ่ม แล้วนำมายีและกดด้วยแม่พิมพ์

กินเป็นขนมหรือของว่างสำหรับเด็กที่มีกระดูกและกล้ามเนื้ออ่อนแรง และยังเหมาะกับผู้ป่วยหรือผู้ที่ร่างกายไม่แข็งแรงอีกด้วย

- กินเกาลัดแห้ง 7 เมล็ดต่อวันกับโจ๊กไตหมูช่วยบรรเทาอาการปวดหลังและปวดเท้าได้ หรือกินเกาลัดดิบแก้คออักเสบ

- เผาเปลือเกาลัดแล้วนำมาบดเป็นผงให้ได้ 6กรัม ผสมน้ำผึ้ง 30 กรัม กินรักษาริดสีดวงทวาร

- ต้มเกาลัด 60 กรัม กับพุทราจีนแห้ง 4 ผล และหมูเนื้อแดงกินบำบัดอาการหอบหืดหรือไอ

ข้อควรระวงั
- ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร เช่น ท้องอืดบ่อยๆ อาหารไม่ย่อย ไม่ควรกิน
- ผู้ที่เป็นโรคไขข้ออักเสบ ร้อนใน ตาบวม ห้ามกิน

กุยช่าย

         กุยช่าย เป็นพืชในตระกูลอัลเลียม เช่นเดียวกับกระเทียมและหัวหอม จึงีกลิ่นแรงและฉุนจากสารประกอบพวกกำมะถัน ชาวจีนใช้กุยช่ายเป็นอาหารมากกว่า 3,000 ปี และมีการบันทึการปลูกกุช่ายเพื่อเป็นอาหารในสมัยราชวงศ์เซี้ยกุยช่ายที่เราคุ้นเคยทั้ง 3ประเภท คือ กุยช่ายเขียว กุยช่าย ชาว และ ดอกกุยช่าย ทั้ง 3 ประเภทแตกต่างกันตรงกระบวนการปลูกและการตัดส่วนมาขาย

                                                             [ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต]      

     สรรพคุณ

- กุยช่ายมีฤทธิ์อุ่น รสเผ็ด ใบมีสรรพคุณลดการอักเสบและการติดเชื้อจากแบคทีเรีย แก้แมลงกัดต่อย ผ่นคัน ฟกช้ำ บวม แก้หูน้ำหนวก แก้หวัด เลือดกำเดาไหล แก้ท้องผูก แก้อาการปัสสาวะเป็นเลือด รักษาอาการแน่นหน้าอก และอาเจียนเป็นเลือด 

- เมล็ดใช้ขับพยาธิเส้นด้ายและพยาธิแส้ม้า รักษาอาการเสื่อมสรรถภาพทางเพศ แก้อาการน้ำอสุจิเคลื่อนบ่อย แก้ตกขาวปัสสาวะผิดปกติ และเลือดออกในช่องท้อง
- ราก รักษาอาการแน่นหน้าอก ช้ำใน อาเจียนเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล แก้ตกขาว


  วิธีใช้

- ต้มกุยช่าย 60 กรัมกับเนื้อหอยกาบ 150 กรัม กินรักษาวัณโรค ไอแห้งๆ มีเหงื่อออกมาก และโรคเบาหวาน

- นำกุยช่ายสดมาคั้นน้ำดื่ม แก้อาการห้อเลือดบริเวณท้อง

- ผสมน้ำคั้นกุยช่ายกับตับหมู แก้อาการเหงื่อออกตอนกลางคืน แก้ท้องเสีย

- เมล็ดกุยช่าย 10 กรัม ชงน้ำดื่ม รักษาอาการเสื่อมสมรรพภาพทางเพศ

    ข้อควรระวัง

- ผู้ที่ที่ระบบย่อยอาหารไม่ดีไม่ควรกิน

สมุนไพรที่ฤทธิ์อุ่นและร้อน

        สมุนไพรที่ฤทธิ์อุ่นและร้อน จัดเป็นพวกหยาง ซึ่งใช้บำบัดอาการที่เกิดจากการมีหยินมากเกินไป เช่น มีอาการเย็นตามมือและเท้า ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่ค่อยแข็งแรง  ถ่ายเหลว  ท้องร่วง  ขี้หนาว ไม่กระฉับกระเฉง หากมีอาการดังกล่าวควรใช้สมุนไพรในกลุ่มนี้ประกอบในอาหารหรือชงเป็นชาดื่มเพื่อบำบัดอาการ

[ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต]

    กานพลู

        กานพลู ภาษาจีนเรียกว่า "เต็งฮยง" เป็นเครื่องเทศและยาที่ใช้ในแถบเอเชีย ทั้งจีน อินเดีย ไทย มากกว่า 2,000ปี ส่วนที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์ คือ ส่วนดอกตูมที่มีฐานดอกใหญ่ การเก็บเกี่ยวกานพลูจะทำเมื่อก้านดอกเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีแดง กานพลูที่ดีควรแห้งสนิท และมีดอกขนาดใหญ่่ กานพลูที่บานแล้วจะมีสรรพคุณทางยาต่ำกว่าดอกตูม และกานพลูที่ผ่านการสกัดเอาน้ำมันออกแล้วก็จะมีสรรพคุณทางยาต่ำลงเช่นกัน

   สรรพคุณ
-กานพลูมีฤทธิ์อุ่น เผ็ดร้อน กลิ่มหอม จึงช่วยรักษษอาการท้องอืดเฟ้อ จุกเสียด อาหารไม่ย่อย ท้องเสีย ลดกรดในกระเพาะ และลดการบีบตัวของลำไส้
-ในกานพลูมีน้ำมันหอมระเหย ชื่อ ยูจีนอล(eugenol)สูงซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาแก้ปวด ยาชา แก้ปวดฟัน แก้อักเสบ รักษาโรคเหงือก ระงับแบคทีเรียและกลิ่นปากได้ดี
-ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของม้าม กระเพาะ และไต ช่วยอุ่นกระเพาะอาหาร แก้อาเจียน และแก้อาการสะอึก
-กานพลูมีแมงกานีสสูง มีโอเมกา 3 วิตามินเค วิตามินซี เส้นใยมีแคลเซียมเล็กน้อย จึงเป็นประโยชน์ต่อร่างกายในหลายด้าน
                                      [ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต]   
    

      วิธีใช้

-เคี้ยวกานพลูแห้ง 1-2 ดอกหลังมื้อออาหาร เพื่อช่วยลดกลิ่นปาก ช่วยให้ปากสะอาด และช่วยลดอาการท้องอืดจากอาหารไม่ย่อย
-ต้มกานพลูแห้งกับใบชา ดื่มเป็นประจำ ช่วยลดอาการเบื่ออาหารอาหารไม่ย่อย มีกรดในกระเพาะ
-บดกานพลูแห้ง  1 ดอก ผสมกับนมครึ่งลิตร ดื่มลดอาการท้องอืดใเด็กที่อายุมากกว่า  2 ปี 

 ข้ิอควรระวัง
-ผู้ที่เป็นไข้ อาเจียน ร้อนใน ห้ามกิน
             หากพูดถึงสมุนไพร คนทั่วไปรู้จักดี เนื่องจากในแต่ละท้องถิ่น ของแต่ละประเทศมรการใช้สมุนไพรมาตั้งแต่โบราณ โดยภูมิปัญญาเหล่านั้น บรรพบุรุษของแต่ละเผ่าพันธุ์ได้ลองผิดลองถูกและจดบันทึกไว้ จนลูกหลานยุคปัจจุบันสามารถนำมาใช้ได้อย่างมั่นใจในสรรพคุณ เช่นเดียวกับคนไทยที่มีตำหรับยากลางบ้านที่มีส่วนผสมของสมุนไรมากมายหลายชนิดซึ่งบางตำหรับก็ไม่ใช่สมุนพรไทยเสียหมด ยังมีสมุนไพรจีนผสมหรือแทรกเข้ามาด้วย ตำราจีนก้เช่นกัน อาจมีสมุนไพรไทยเข้าไปเป็นกระสายยาอยู่บ้าง ทั้งนี้เป็นเพราะสมุนไพรทั้งไทยและจีนหลายชนิด มีถิ่นกำเนิดหรือแพร่พันธ์ุุ์อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน




[ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต]


หากจะพูดถึงสมุนไพรจีน ต้องยอมรับว่าเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราแบบไม่รู้ตัว เพราะสมุนไพรจีนบางชนิดเป็นส่วนประกอบสำคัญของอาหารที่เรากิน เช่น ขาหมูพะโล้ เพราะพะโล้จะมีสมุนไพรจีนอยู่ถึง 5ชนิด ด้วยกัน คือ "โป๊ยกั๊ก" (จันทร์แปดกลีบ) "วุ่ยฮึง"(เมล็ดเทียนข้าวเปลือก) "เต็งฮยง" (กานพลู) "กุยพ้วย" (อบเชย) และ "ซวงเจีย"(พริกหอม) นอกจากอาหารคาวแล้ว อาหารหวานหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมเป็นสมุนไพรจีนก็มีอยู่ไม่น้อย เช่น น้ำจับเลี้ยง น้ำเก็กฮวย เป็นต้น

ในตำราแพทย์แผนจีนโบราณซึ่งมีกำเนิดมากกว่า 5,000 ปี ได้จดบันทึกรวบรวมแนวทางหลักในการรักษาผู้เจ็บป่วยไว้ 2 ประการ คือ
1.การรักษาแบบองค์รวม เป็นการรักษาที่ครอบคลุม เช่น หากมีการอ่อนเพลีย หน้าตาซีดเซียว ปากซีด หมอจีนสมัยก่อนจะให้กินสมุนไพรที่มีสรรพคุณบำรุงเลือด หัวใจ และม้ามไป พร้อมๆกัน

2. การรักษาที่ดูจากสภาพแวดล้อมภายนอก ที่มากระทบลักษณะพื้นฐานของสุขภาพเดิมของแต่ละคน ซึ่งโดยปกติแล้วแพทย์จีนจะแบ่งพื้นฐานสุขภาพของคนออกเป็น  4 แบบ คือ
-พวกหยางแข็งแรง คนกลุ่มนี้จะเป็นคนขี้ร้อน คล่องแคล่ว ตื่นเต้นได้ง่าย ชีพจรเต้นเร็ว ลิ้นมีสีแดง
-พวกหยินแข็งแรง คนกลุ่มนี้จะเป็นคนขี้หนาว มีนิสัยเรียบๆ ดูสงบนิ่ง อาจจะมีอาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง
-พวกหยางอ่อนแอ คนกลุ่มนี้จะมีลักษณะนิสัยเป็นคนเก็บกดหน้าตาซีดเซียวเหมือนไม่ค่อยมีเลือด
-พวกหยินอ่อนแอ คกลุ่มนี้จะมีรูปร่างผอมบาง อารมณืไม่ค่อยคงที่หงุดหงิดโมโหง่าย

แพทย์จีนได้หล่าวไว้ว่า การที่ร่างกายเกิดอาการเจ็บป่วยเป็นเพราะการเสียสมดุล เนื่องจากเชื้อโรคหรือสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงจนทำให้ร่างกายมีหยินหรือหยางมากเกินไปเมื่อร่างกายเสียสมดุลจะส่งผลให้อารมณ์เสียสมดุลตามไปด้วย ดังนั้น การรักษาของแพทย์จีนจึงเน้นไปที่การปรับสมดุลเพราะสมดุลเปรียบเหมือนกุญแจสำคัญของการมีสุขภาพดี การปรับสมดุลของแพทย์แผนจีนมีหลายวิธี แต่วิธีที่เราคุ้นเคยและรู้จักกันดี เช่น

-การนวดกดจุด วิธีนี้จะคล้ายวิธีการฝังเข็ม แต่ใช้วิธีนวดลงบนจุด ต่างๆซึ่งจะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้ดี บรรเทาอาการปวดหัว กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและระบบน้ำเหลือง

-การใช้สมุนไพร ชาวจีนโบราณได้ชื่อว่าเป็นสุดยอดแห่งการใช้สมุนไพรบำบัดโรค การใช้สมุนไพรของชาวจีนมีทั้งแบบที่ใช้เดี่ยวๆเช่น การชงเป็นชา หรือใช้สมุนไพรหลายๆตัวเข้าเป็นตำรับยาหรือใช้ประกอบลงในอาหารหรือดองเหล้า การใช้สมุนไพรหลายๆตัวประกอบกันก็เพื่อปรับฤทธิ์และสรรพคุณของสมุนไพรให้สมดุล เพื่อให้ได้สรรพคุณตามต้องการ การใช้สมุนไพรเพื่อปรับสมดุลของร่างกาย นอกจากจะช่วยฟื้นฟูระบบไหลเวียนของเลือดแล้ว ยังช่วยปรับสภาวะร้อนหรือเย็นเกินไปของร่างกายอีกด้วย จึงอาจพูดได้ว่า สมุนไพรจีนให้สรรพคุณทั้งการบำบัดและบำรุงในขณะเดียวกัน